Sunday, May 1, 2016

4 ข้อ เลือกวิดีโอสอนภาษาที่ต้องหนีให้ไกล

เป็นที่น่าดีใจนะครับว่าเดียวนี้ในยูทูปมีคนมากมายทำวีดีโอสอนภาษา ต่างคนต่างมีวิธีการสอนแตกต่างกัน แล้วเราจะเลือกฟังแบบไหนดี? เพราะเลือกผิดแทนที่จะเรียนไวขึ้น กลับกลายเป็นถอยหลังลงคลองแทนแน่นอน

1. ช่องที่ใช้เวลาส่วนใหญ่กับการวิเคราะห์ภาษา แกรมม่า เป็นภาษาไทย หนีให้ไกล
2. ช่องไหนมีเป็นวิดีโอยาวๆ แล้วใช้แต่ภาษาไทย บางอันดูสนุกแต่ภาษาไม่เดิน อย่าดูให้เสียเวลาครับ
3. ช่องไหนนั่งอธิบายศัพท์เป็นคำๆ แปลความหมายเป็นภาษาไทยให้อีก แม้จะสะดวกดีเหมือนได้ความรู้ แต่พวกนี้เอาไปใช้จริงไม่ได้ ลืมหมด ถ้าพยายามจะใช้อาจจะผิดสถานะการณ์ยิ่งแย่ใหญ่
4. ประเภทเปิดมาก็เจอกระดานดำ นั่งวิเคราะห์ tips&tricks อย่าไปดูมาก รู้แต่วิธีแต่ไม่มีเวลาฝึกก็ไปไหนไม่ได้

แล้วจะดูอะไร?

1. ให้ดูช่องที่เราได้ฝึก ฟัง อ่าน พูด ฝึกฝึกฝึก "practice practice practice"
2. ดูช่องที่ใช้ภาษาอังกฤษ ช่องที่ฝรั่งดู และสนุกอยากดูซ้ำๆ ฟังแล้วเข้าใจ 80-90%

อยากเก่งไวๆต้องฝึกเท่านั้นครับ อย่านั่งวิเคราะห์ อย่านั่งท่องจำแบบนกแก้วนกขุนทอง

ผมขอขโมยสโลแกนของคุณ English MC
"Relax Repeat [you will] Remember"

Wednesday, January 27, 2016

คนใช้ภาษาที่เก่งคือคนที่ใช้แต่ศัพท์ยาก? เทคนิคใช้ภาษาแบบฝรั่งยังชม


หลายคนเชื่อว่า "คนที่ใช้ศัพท์ยากๆ หรือเรียกว่าศัพท์สูงมากๆ คือผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษเก่ง"
ด้วยความเชื่อนี้ หลายท่านจึงหันไปท่องคำศัทพ์เหล่านั้น ตามหนังสือต่างๆบ้าง ตามเว็บบ้าง และ
อีกทั้งเชื่อว่างานเขียนที่ดีคือการใช้ศัพท์ยาก ให้ได้มากๆ

ท่านที่พึ่งหัดเรียนภาษาพอใช้งานได้ แต่กลับรู้แต่ศัทพ์ง่ายเริ่มรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ ว่าเหตุใดระดับภาษาเราถึงไม่ไปถึงไหน ศัทพ์สูงก็ไม่มี ใช้งานก็ไม่เป็น กลายเป็นเสียกำลังใจไปเสียอย่างนั้น

จริงๆแล้ว ความเชื่อเหล่านั้นไม่จริงเลยครับ

ภาษาทุกภาษาคือเครื่องมือในการสื่อสารความคิด และอารมณ์

ลองจินตนาการประโยคนี้ดูนะครับ

มด : แมงเม่า, เธอจะจรมา ณ สยามพารากอน เพลาใด เราจะได้เตรียมอาหารลงในภาชณะไว้ให้

หรือว่า

มด : แมงเม่า, เธอจะมาที่สยามพารากอนกี่โมง เราจะได้เตรียมข้าวกล่องไว้ให้

คำเปลี่ยน อารมณ์และความสนิทก็เปลี่ยน

มด : แมงเม่า, มึงจะมาที่สยามพารากอนกี่โมงวะ กูจะได้เอาข้าวไปให้

เพียงแค่รู้ศัพท์แบบนกแก้วนกขุนทองและไปใส่ในประโยคแบบไม่รู้กาลเทศะ นอกจะจากจะทำให้การสื่อสารเข้าใจแยกแล้ว ยังสร้างอารมณ์ที่ผิดแปลกไปเสียด้วย

การสื่อสารจะมีสัมฤธิ์ได้อย่างไรถ้าเต็มไปด้วยคำที่เยือดเยื้อเข้าใจยาก
แม้แต่เข้าของภาษาเอง ยังไม่สรรเสริญบุคคลที่ใช้แต่ศัทพ์สูงจำนวนมากเกินความจำเป็นเลยครับ
รายละเอียด กดที่นี่ครับ

ถ้าอย่างนั้น

การพูดและการเขียนที่ดีคืองานที่ใช้ภาษาที่กระชับ ชัดเจน ไม่คลุมเครือ และเข้าใจง่าย และเข้าใจกาลเทศะ


อย่างนี้เราจะรู้ได้อย่างไรควรจะใช้สำนวนแบบไหน

อ่านให้มาก ฟังให้มาก
จากแหล่งที่ฝรั่งเขาใช้ เช่น หนังสือ ภาพยนต์ ไม่ใช่จากโรงเรียนหรือหนังสือสอนภาษา

ทำให้ต่อเนื่อง ไม่นานสมองจะเข้าใจอย่างเป็นธรรมชาติได้เองครับ