Sunday, May 1, 2016

4 ข้อ เลือกวิดีโอสอนภาษาที่ต้องหนีให้ไกล

เป็นที่น่าดีใจนะครับว่าเดียวนี้ในยูทูปมีคนมากมายทำวีดีโอสอนภาษา ต่างคนต่างมีวิธีการสอนแตกต่างกัน แล้วเราจะเลือกฟังแบบไหนดี? เพราะเลือกผิดแทนที่จะเรียนไวขึ้น กลับกลายเป็นถอยหลังลงคลองแทนแน่นอน

1. ช่องที่ใช้เวลาส่วนใหญ่กับการวิเคราะห์ภาษา แกรมม่า เป็นภาษาไทย หนีให้ไกล
2. ช่องไหนมีเป็นวิดีโอยาวๆ แล้วใช้แต่ภาษาไทย บางอันดูสนุกแต่ภาษาไม่เดิน อย่าดูให้เสียเวลาครับ
3. ช่องไหนนั่งอธิบายศัพท์เป็นคำๆ แปลความหมายเป็นภาษาไทยให้อีก แม้จะสะดวกดีเหมือนได้ความรู้ แต่พวกนี้เอาไปใช้จริงไม่ได้ ลืมหมด ถ้าพยายามจะใช้อาจจะผิดสถานะการณ์ยิ่งแย่ใหญ่
4. ประเภทเปิดมาก็เจอกระดานดำ นั่งวิเคราะห์ tips&tricks อย่าไปดูมาก รู้แต่วิธีแต่ไม่มีเวลาฝึกก็ไปไหนไม่ได้

แล้วจะดูอะไร?

1. ให้ดูช่องที่เราได้ฝึก ฟัง อ่าน พูด ฝึกฝึกฝึก "practice practice practice"
2. ดูช่องที่ใช้ภาษาอังกฤษ ช่องที่ฝรั่งดู และสนุกอยากดูซ้ำๆ ฟังแล้วเข้าใจ 80-90%

อยากเก่งไวๆต้องฝึกเท่านั้นครับ อย่านั่งวิเคราะห์ อย่านั่งท่องจำแบบนกแก้วนกขุนทอง

ผมขอขโมยสโลแกนของคุณ English MC
"Relax Repeat [you will] Remember"

Wednesday, January 27, 2016

คนใช้ภาษาที่เก่งคือคนที่ใช้แต่ศัพท์ยาก? เทคนิคใช้ภาษาแบบฝรั่งยังชม


หลายคนเชื่อว่า "คนที่ใช้ศัพท์ยากๆ หรือเรียกว่าศัพท์สูงมากๆ คือผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษเก่ง"
ด้วยความเชื่อนี้ หลายท่านจึงหันไปท่องคำศัทพ์เหล่านั้น ตามหนังสือต่างๆบ้าง ตามเว็บบ้าง และ
อีกทั้งเชื่อว่างานเขียนที่ดีคือการใช้ศัพท์ยาก ให้ได้มากๆ

ท่านที่พึ่งหัดเรียนภาษาพอใช้งานได้ แต่กลับรู้แต่ศัทพ์ง่ายเริ่มรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ ว่าเหตุใดระดับภาษาเราถึงไม่ไปถึงไหน ศัทพ์สูงก็ไม่มี ใช้งานก็ไม่เป็น กลายเป็นเสียกำลังใจไปเสียอย่างนั้น

จริงๆแล้ว ความเชื่อเหล่านั้นไม่จริงเลยครับ

ภาษาทุกภาษาคือเครื่องมือในการสื่อสารความคิด และอารมณ์

ลองจินตนาการประโยคนี้ดูนะครับ

มด : แมงเม่า, เธอจะจรมา ณ สยามพารากอน เพลาใด เราจะได้เตรียมอาหารลงในภาชณะไว้ให้

หรือว่า

มด : แมงเม่า, เธอจะมาที่สยามพารากอนกี่โมง เราจะได้เตรียมข้าวกล่องไว้ให้

คำเปลี่ยน อารมณ์และความสนิทก็เปลี่ยน

มด : แมงเม่า, มึงจะมาที่สยามพารากอนกี่โมงวะ กูจะได้เอาข้าวไปให้

เพียงแค่รู้ศัพท์แบบนกแก้วนกขุนทองและไปใส่ในประโยคแบบไม่รู้กาลเทศะ นอกจะจากจะทำให้การสื่อสารเข้าใจแยกแล้ว ยังสร้างอารมณ์ที่ผิดแปลกไปเสียด้วย

การสื่อสารจะมีสัมฤธิ์ได้อย่างไรถ้าเต็มไปด้วยคำที่เยือดเยื้อเข้าใจยาก
แม้แต่เข้าของภาษาเอง ยังไม่สรรเสริญบุคคลที่ใช้แต่ศัทพ์สูงจำนวนมากเกินความจำเป็นเลยครับ
รายละเอียด กดที่นี่ครับ

ถ้าอย่างนั้น

การพูดและการเขียนที่ดีคืองานที่ใช้ภาษาที่กระชับ ชัดเจน ไม่คลุมเครือ และเข้าใจง่าย และเข้าใจกาลเทศะ


อย่างนี้เราจะรู้ได้อย่างไรควรจะใช้สำนวนแบบไหน

อ่านให้มาก ฟังให้มาก
จากแหล่งที่ฝรั่งเขาใช้ เช่น หนังสือ ภาพยนต์ ไม่ใช่จากโรงเรียนหรือหนังสือสอนภาษา

ทำให้ต่อเนื่อง ไม่นานสมองจะเข้าใจอย่างเป็นธรรมชาติได้เองครับ




Sunday, June 21, 2015

เทคนิคการพูดอย่างไว ฝรั่งเข้าใจทันที!

ลองมาดูตัวอย่างครับ

Thai A: Hello. What..uh..would..you.. you..like..ahhh..a cup of coffee and...ummm..sugar.( 3 sec pause ).how..many? 
Farang: ???

นายคนนี้คงจะพยายามคิดแกรมม่าให้ถูก ไปๆมาๆคิดไม่ออก เลยมั่วไปเลย เจอแบบนี้ฝรั่งงงแน่นอนครับ
พูดไม่ตรงแกรมม่ายังพอเข้าใจได้ แต่ถ้าพูดติดขัดเป็นคำๆฝรั่งจะงง เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ต้องได้ยินความต่อเนื่องของเสียงเพื่อทำความเข้าใจบริบท การพูดติดๆขัดๆเพราะกังวนมากเกินไปจะยิ่งแย่ไปกันใหญ่

แล้วเราจะแก้ยังไงดี?


1. ไม่ต้องกังวนเรื่องแกรมม่า
2. สร้างประโยคง่ายๆ สั้นๆ ที่เรารู้
3. คิดเตรียมไว้ แล้วพูดไปรวดเดียว

Thai B: Hello, Do you want coffee?
Farang: Yes, please.
Thai B: Sugar?
Farang: Yes.
Thai B: How much?

ไม่ต้องเป็นประโยคก็ได้ คุยกันรู้เรื่องแล้ว เทคนิคพูดอย่างไว ฝรั่งไม่งง คือ 

"พูดง่ายๆ สั้นๆ และต่อเนื่อง"

แต่ถ้าทำงานเป็นอาชีพ ก็อย่างลืมหัดประโยคๆสุภาพไว้ด้วยนะครับ

ถ้าคิดประโยคไม่ออกแต่แรก ลองเข้าไปดูที่นี่ครับ
http://naturalenglishclub.blogspot.com/2013/12/blog-post.html

Friday, August 29, 2014

ทำเป็นต้องท่องศัพท์ทำไงดี? (เทคนิคที่ทำให้ท่องศัพท์จำได้ไม่ลืม)

ถ้าท่านไหนได้ติดตามบล๊อคนี้มาตั้งแต่เริ่ม คงจะทราบดีว่าผมไม่แนะนำให้ท่องศัพท์โดยไม่จำเป็น เพราะทำให้เสียเวลาปล่าวๆ แถมถ้าจำไปใช้งานผิด จะแก้ไขลำบาก 

ผมแนะนำให้ใช้วิธีอ่านให้มาก ฟังให้มาก อาจจะจดศัพท์เพื่อทบทวน แต่ไม่ให้ท่องโดยไปลอกมาจากหนังสือหรือเว็บ

แต่ในบางสถานะการณ์ที่เราต้องท่องเพราะศัพท์นั้นๆ เป็นคำที่พบไม่บ่อยนัก เป็นศัทพ์ยากแต่จำเป็นต้องรู้เพราะจะนำไปสอบหรืออ่านหนังสือวิชาการ ดังนั้นเราจะท่องอย่างไรให้ได้ผลดี จำได้แม่น?

เทคนิคนี้ผมได้มาจากคุณ Gabriel Wyner ผู้เชื่อชาญทางภาษาที่ใช้ภาษาได้หลายภาษา สำคัญคือเขาสามารถเรียนภาษาในระยะเวลาที่สั้นอย่างเหลือเชื่อ ไม่ใช่เพราะว่าเขาเก่งกว่าคนทั่วไป เพียงแต่เขารู้วิธีปลดล๊อคพลังสมองที่มีอยู่ในตัวทุกๆคน โดยเทคนิคที่เขาใช้เป็นการพัฒนามาจากงานวิจัยทางประสาทวิทยา (Neural Science) 

ผมนำเทคนิคนี้มาใช้ก่อนที่จะนำมาโพส เพราะอยากจะให้ทุกท่านได้รับข้อมูลเทคนิคที่ได้ผลจริง ไม่ใช่มาจากการมโนไปเอง ผมทำการทดลองกับ GRE word list ซึ่งเชื่อว่าหลายท่านคงทราบดีว่าเป็นคำที่ยาก และไม่ค่อยพบเจอทั่วไปบ่อยนัก เริ่มผม จำ 10 คำต่อวัน เพียงวันละ 30 นาที 

หลายคนบอกว่าแค่ 10 คำง่ายๆ แต่ต้องเน้นคำว่า 10 คำนี้ เป็นความจำในระดับที่นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง (active words) ไม่ใช่แค่คุ้นๆ ที่นำเอาไปใช้งานไม่ได้ ไม่รู้จะนำไปใส่ในประโยคอย่างไร (passive words) หรือนำไปใช้อย่างผิดสถานะการณ์ที่มักเป็นปัญหาสำคัญของนักศึกษาที่ชอบท่องศัพท์โดดๆ นอกจากนั้นเทคนิคนี้ยังจำได้ในระดับที่อยู่ในสมองความจำระยะยาวด้วย

จากการรายงานของคุณ Gabriel คนที่ฝึกฝนจนชำนาญ สามารถจำได้มากกว่า 50 คำต่อวัน (แต่เขาไม่ได้ระบุระดับความยากของคำครับ)

ผมสรุปให้คร่าวๆดังนี้ครับ

  1. เตรียมคำศัพท์ที่ต้องการท่อง
  2. ใช้ Flash Cards
  3. ต้องทำ flash cards ด้วยตัวเองเท่านั้น
  4. ตั้งใจทำ อย่าทำส่งๆ
  5. หน้าแรก ให้ใช้รูป
  6. หน้าหลัง ให้เขียนคำที่จะจำ ที่มีความสำพันธ์กับรูปในหน้าแรก
  7. ถ้าเป็นไปได้ให้เขียนคำอ่านไว้หน้าหลัง ถ้าเป็นเสียงด้วยยิ่งดี
  8. ห้าม เขียนคำแปล ห้ามท่องคำแปล ใช้รูปแทนคำแปลเท่านั้น
  9. ให้ท่องโดยใช้ การท่องเป็นช่วงๆ (Space Repetition Technique) (ผมเคยเขียนเอาไว้แล้วในบทความเก่าๆ ลองหาดูครับ)
  10. ห้ามทวนโดยการอ่านซ้ำ (review) ใช้ใช้วิธีพยายามนึกเอาแทน (recall)
  • การหารูป ให้ค้นหาเอาจาก google image search ครับ เลือกเอาที่เหมือนคำแปลที่สุด
  • ถ้ามีเรื่องราวหรือประสบการณ์ส่วนตัวฝูกกับคำนั้นๆด้วย จะยิ่งจำได้ง่ายขึ้น (พยายามหาเรื่องใส่คำ ให้มันตลก ประหลาดเข้าไว้)
  • เน้นการออกเสียงให้ถูก ฟังคำอ่านให้ติดหู อย่าจำเป็นตัวอักษรตัวต่อตัว
ต้องทำตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัดนะครับ เพราะทั้งหมดนี้มีเหตุผลมาจากงานวิจัยทางสมอง ไว้คราวหน้าผมจะมาบอกเหตุผลเป็นข้อๆว่าทำไมต้องทำอย่างนี้ แม้ว่าจะไม่รู้เหตุผล แต่ถ้าทำตามขั้นตอนรับรองว่าศัพท์ไหนๆก็จำได้แม่นเลยหล่ะครับ

ใครอยากจะทราบรายละเอียดมากกว่านี้ สามารถหาอ่านได้จากหนังสือของคุณ Gabriel Wyner 


(ผมไม่ได้ค่าโฆษณานะครับ แต่หนังสือเขาดีจริงๆ)


Sunday, April 27, 2014

รู้จักกับ Uptalk การพูดที่ไร้น้ำหนัก

คุณรู้จัก Uptalk ไหมครับ? Uptalk คือการพูดประโยคบอกเล่าให้มีท้ายเสียงสูงเหมือนกับประโยคคำถาม การพูดลักษณะนี้ฝรั่งถือเป็นการพูดที่น่าลำคาญ และไม่ควรนำมาพูดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการพูดเป็นทางการ การรายงาน แม้กระทั่งพูดในที่ทำงาน ถ้าจะให้เทียบกับภาษาไทยก็อารมณ์ประมาณพูด "แอ๊บแบ๊ว" น่ะครับ ดังนั้นลองสังเกตการพูดของตัวเองดูนะครับว่าใช้ uptalk อยู่หรือเปล่า

นี่คือวีดีโอตัวอย่างครับ



Tuesday, February 11, 2014

Tense เรียนอย่างไร

image from : www.really-learn-english.com

Tense คือเรื่องยอดฮิตที่คนไทยมีปัญหากันมาก เพราะว่าภาษาไทยไม่มี หรือมีก็ใช้ในรูปแบบอื่น
จะว่ากันจริงๆเรื่อง Tense ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ยากเลย แต่ที่ดูยากเพราะว่าเราไปเรียนแบบผิดๆต่างหาก

"เราเรียนกันว่า Tense ต้องเป็นไปตามกฎต่างๆ และต้องมีรูปแบบเฉพาะ โดยเวลาจะใช้ในสถานะการณ์จริงๆก็ต้องมานั่งวิเคราะห์ว่าจะใช้ Tense ไหน ซึ่งทำให้รู้สึกเรื่องมากวุ่นวาย"

‪#‎ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจให้ถูกก่อนว่า‬ ฝรั่งเขาใช้ Tense กันอย่างไร
1. สมองจะคิดเป็นภาพ และเวลา (ก่อนมาแล้ว เรื่องเมื่อวานนี้ หรือว่ายังไม่เกิด )
2. เปลี่ยนภาพและเวลาในหัว ออกมาเป็นภาษาทันที
3. เขาไม่มีการวิเคราะห์เลยว่าเป็นเวลาอะไร ต้องใช้รูปไหน ปากมันจะวิ่งไปเองตามการตีความของสมอง

‪#‎เมื่อภาพที่เขาเห็นในสมอง‬
- เป็นเรื่องทั่วๆไป เห็นเป็นภาพสี -> ก็พูดประโยคแบบธรรมดาๆ (present simple)
- เห็นเป็นภาพสี แต่ [กำลัง] [จะ] ทำ -> สมองจะเตรียมคำว่า will เอาไว้
- เห็นภาพเคลื่อนไหว -> สมองจะเตรียม -ing เอาไว้
- เห็นเป็นภาพขาวดำ เมื่อวาน เมื่อเช้านี้ -> สมองจะเตรียม was เอาไว้
- เห็นเป็นขาวดำ [เคย] ทำ [แล้ว] แต่ไม่ได้เจาะจงเวลา -> สมองจะเตรียม Have เอาไว้
- เห็นเป็นขาวดำ [ทำมาตั้งแต่วันนั้นโน้น] [แล้ว] แต่ [ยังไม่เสร็จ] -> สมองจะเตรียม have been -ing เอาไว้

ส่วน Tense อื่นๆนอกจากนี้ มักไม่ค่อยเจอครับ มักจะพบกับพวกหนังสือนิยายเพราะว่าเป็น Tense สำหรับการเล่าเรื่อง ไม่ต้องไปพยายามจำให้ครับทั้ง 12 Tense นะครับ เดียวมันก็ลืมหมด เอาแค่นี้ให้ได้ก่อน

ถ้าได้ Tense ข้างบนคล่องๆ (คล่องหมายถึงสมองสามารถเห็นภาพและเวลา และตีความภาษาได้ออกมาอย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่ใช้สมองส่วนการวิเคราะห์) จะเข้าใจตัวอื่นๆได้ง่ายขึ้นมาก

‪#‎เราจะฝึกอย่างไรดี‬?
- อย่าพยายามวิเคราะห์!!
- อ่าน และฟังให้มาก ให้ต่อเนื่อง
- เมื่ออ่านไม่เพียงแต่สร้างความหมาย แต่ให้สร้างภาพตามสภาวะ Tense ที่เห็นด้วย
- หัดเล่าเรื่อง ชีวิตประจำวันตัวเองว่าพบเจออะไรมากอย่างง่ายๆ

‪#‎เจอฝรั่งแต่ยังไม่ได้‬ Tense ทำไงดี
1. ไม่ต้องตกใจ
2. ให้ใช้ present simple ไปเลย แล้วใส่เวลาตามหลัง (ดีกว่าอ้ำอึ้งคิดไม่ออก)
เพราะภาษาอังกฤษแบบ American นิยมใช้ present simple มาก
เช่น
- I eat a hot-dog this morning. ใช้ผิด แต่แค่คำว่า this morning เขาก็รู้แล้วว่าเป็นอดีต
- I go to shopping tomorrow. ใช้ผิด แต่เขาก็รู้ว่าเป็นอนาคต
- I go to Japan when I am five years old. ใช้ผิด แต่เขาก็เข้าใจว่าไปตอนยังเล็กๆ

3. แต่ถ้าสามารถใช้ได้อย่างถูกต้องถือว่าดี เพราะว่าเขาจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น


Sunday, December 8, 2013

ทำไม She is eats fish ไม่ได้



ผมมักจะเจอคำถามอยู่บ่อยๆว่า ทำไม She ใช้กับ do ไม่ได้ ใช้ does ก็แปลได้เหมือนกัน ใครเป็นคนกำหนด

เรียนภาษาอย่าใช้เหตุผลครับ เพราะมันไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นมาด้วยเหตุผล ต่อให้พยายามใส่เหตุใส่ผลเข้าไปมันก็เท่านั้น คำยกเว้นข้อยกเว้นมากมายไปหมด จำกันไม่หวาดไม่ไหวจนกลายเป็นว่าภาษาอังกฤษเป็นเรื่องยากจนเกินไปที่จะเข้าใจ

เรียนภาษาให้ใช้อารมณ์ไปจับ พยาพยามทำความเข้าใจอารมณ์ของ คำ วลี ต่างๆ คำบางคำมีอารมณ์ในเชิงลบ เช่น
She is a fat person. (หล่อนเป็นคนอ้วน)
She is an overweight person. (เขาเป็นคนน้ำหนักเกิน)
slender(ผอมเรียว) => skinny(หนังหุ้มกระดูก)

แม้แต่ในระดับประโยคก็ยังมีอารมณ์ไม่เหมือนกัน
ถ้าเริ่มต้นด้วย She issssss สมองจะนึกถึงสถานะ ความเป็นไปของคนนั้นๆ

She issssssss slender.

จะเห็นว่าตามหลัง is มักจะตามมาด้วยคำที่บ่งบอกสภาพ เช่น adjective หรือพวก V-ing ทั้งหลาย

ส่วนถ้าพูดถึง eat สมองจะเห็นภาพ ปาก อาหาร เคี้ยว มันเห็นเป็นสิ่งเคลื่อนไหว เป็นการกระทำ ดังนั้นถ้าใช้

She isssssss eat fish.

จะรู้สึกประหลาด เพราะสมองนึกถึงสถาพของคนนั้นๆ กับคำว่ากินซึ่งเป็นอามรณ์ทั่วๆไป มันจะรู้สึกขัดกัน ไม่ต่อเนื่อง

แต่ถ้าเป็น
She is eating.

สมองจะเห็นสถาพท่าทางว่ากำลังหม่ำๆ เป็นสภาพของความเคลื่อนไหว มือกำลังตักปลาเข้าปาก ซึ่งอารมณ์ต่อเนื่องไม่ขัด

อารมณ์ต่างๆเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าไม่ได้ผ่านการซึมซับจากการอ่าน ฟัง ดู ใช้งาน เป็นประจำ และจะไม่เกิดขึ้นเลยถ้าใช้สมองส่วนการวิเคราะห์ เช่น การคำกฎแกรมม่าต่างๆ

"อ่านเป็นประจำ ฟังอย่างต่อเนื่อง ทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ลองหยิบประโยคต่างๆมาลองใช้งาน"